สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

เดือน ต.ค 2560 ชุด 3/3

เดือน ต.ค 2560 ชุด 3/3


ลักษณะที่เรียกว่า กามตัณหา คือความกระหายอยากได้อารมณ์ที่น่าชอบใจมาเสพเสวยปรนเปรอตน หรือความทะยานอยากในกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือ กามตัณหาในแง่ของความชื่นชอบกาม ในอารมณ์ 6 ก็ได้ ส่วน ภวตัณหา คือ ความกระหายอยากในความถาวรมั่นคง มีอยู่คงอยู่ตลอดไป รวมถึงอยากใหญ่โตโดดเด่น ของตนหรือความทะยานอยากในภพ จึงเป็นภวตัณหา อยากมีอยากเป็นจึงเห็นสิ่งต่างๆ ว่าเที่ยง ที่เรียกว่า วิภวตัณหา คือความกระหายอยากในความดับสิ้นขาดสูญ รวมบั่นรอน แห่งตัวตน หรือความทะยานอยากในวิภพ เรียกว่า วิภวตัณหา ไม่อยากให้เป็นนั่นเอง ศึกษาเรื่องตัณหาไว้บ้างก็ดี เป็นเป็นตนเหตุของทุกข์หรือปัญหาชีวิต เจริญพร 18/10/60 หลวงพ่อมิตร

 

สติมีความสำคัญที่ทำให้เกิดสมาธิ สติจะกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือแนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้นๆ มีพุทโธ ลมหายใจเข้าออก พิจารณาความตาย พิจารณาความไม่งามของร่างกาย ระลึกถึงคุณของศีล ของทาน ของเทวดา เป็นต้น จนจิตใจนิ่งสงบไม่ส่ายไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้นเป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ ก็เรียกว่าสมาธิ หรือ สมถะ คืออุบายวิธิที่ทำจิตให้สงบเป็นบากฐานของปัญญา จงสร้างความพอใจในความสงบให้มากๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะติดสมาธิหรือความสุขจากสมาธิหลอก บอกให้เข้าใจง่ายๆ สติใช้กำหนดรู้ในอารมณ์ที่ตั้งใจให้ระลึกรู้อยู่ สมาธิก็สำเร็จประโยชน์แก่เราเจริญพร 19/10/60 หลวงมิตร

 

สติก็มีความสำคัญโดยตรงต่อปัญญาเหมือนกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์กุมไว้กับจิตหรือคุมจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์เพื่อเอาอารมณ์นั้นเสนอให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือจับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดูและวิเคราะห์วินิจฉัยโดยใช้จิตที่ตั้งมั่นเป็นที่ทำงาน ปัญญานี้มีโยนิโสมนสิการ เป็นหลักสำคัญ จึงจะสำเร็จประโยชน์อย่างแท้จริง เจริญพร 20/10/60 หลวงพ่อมิตร

 

ชีวิตของมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้ง มีสิ่งที่ปรากฏชัดต่อบุคคลเหล่านั้นจริงไหม เช่น เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความเจ็บไข้ ไปไม่ได้ มีความตายเป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ มีความความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งใดที่ไม่ชอบใจ สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบใจ สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ความเครียดแค้นต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ความทุกข์ทั้งหลายที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอนและบอกความจริงที่ปรากฏกับพวกเราในชีวิตประจำวัน ให้เข้าใจว่า เรื่องเหล่านี้เป็นธรรมดาหรือเป็นธรรมชาติหรือเป็นธรรม เท่านั้น เพราะอาศัยความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ ในรูปนามหรือในขันธ์ทั้งห้าหรือในร่างกายจิตใจนี้ ตามความเป็นจริงของสังขารทั้งหลาย เลยเกิดความยึดถือว่าเป็นเราเป็นของๆ ของเรา จึงเกิดความทุกข์นานาประการเกิดขึ้นต่อพวกเรา แต่เมื่อได้ฟังธรรมะนั้นแล้ว จึงได้รู้แจ้งชัด ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนทำให้พวกเราเกิดปัญญา สามารถปล่อยวางในสังขารทั้งหลาย ทำให้ลดความทุกข์ลงได้ เจริญพร 21/10/60 หลวงพ่อมิตร

 

พรหมจรรย์ทางแห่งความพ้นทุกข์ ที่สำเร็จผลนั้นจะต้องเริ่มต้นที่มีการบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า บุคคลบางพวกได้มีโอกาสพบพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธาข้อปฏิบัติของพระพุทธองค์หรือบุคคลรุ่นหลังได้มีโอกาสได้ศึกษาพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธาในพระองค์ท่าน ต่อมาได้สดับธรรมจากพระองค์ท่านหรือธรรมทายาทแล้วเกิดศรัทธาในธรรมนั้นยิ่งขึ้น พอใจที่จะประพฤติตามธรรมนั้นๆอย่างเต็มใจ พอใจในข้อปฏิบัติมีการละเว้นบาปอกุศลทางกายวาจาเป็นต้นเรียกว่าศีล และพยายามทำศีลให้เป็นอริยศีลให้สมบูรณ์ให้จงได้ นี้เป็นขั้นแรกที่จะออกจากทุกข์หรือเป็นเหตุให้ออกจากปัญหาได้ละดับหนึ่ง เจริญพร 22/10/60 หลวงพ่อมิตร

 

พรหมจรรย์ทางแห่งความพ้นทุกข์ ที่สำเร็จผลนั้นจะต้องเริ่มต้นที่มีการบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า บุคคลบางพวกได้มีโอกาสพบพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธาข้อปฏิบัติของพระพุทธองค์หรือบุคคลรุ่นหลังได้มีโอกาสได้ศึกษาพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธาในพระองค์ท่าน ต่อมาได้สดับธรรมจากพระองค์ท่านหรือธรรมทายาทแล้วเกิดศรัทธาในธรรมนั้นยิ่งขึ้น พอใจที่จะประพฤติตามธรรมนั้นๆอย่างเต็มใจ พอใจในข้อปฏิบัติมีการละเว้นบาปอกุศลทางกายวาจาเป็นต้นเรียกว่าศีล และพยายามทำศีลให้เป็นอริยศีลให้สมบูรณ์ให้จงได้ นี้เป็นขั้นแรกที่จะออกจากทุกข์หรือเป็นเหตุให้ออกจากปัญหาได้ละดับหนึ่ง เจริญพร 23 /10/60 หลวงพ่อมิตร

 

สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ไม่มีมากไปกว่านี้อีกแล้ว ได้แก่ หนึ่ง จิต หมายถึง สภาพที่คิดหรือภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ความคิด ใจ วิญญาณ ก็ได้ จิตนี้ถ้าทำให้เกิดความมุ่งไป คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำสอง เจตสิกหมายถึง สภาวะที่ประกอบกับจิตหรือคุณสมบัติและอาการของจิต เช่น สุข ทุกข์ เฉย ๆ ที่เรียกว่าเวทนา สาม รูป สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ ข้อสุดท้าย นิพพาน หมายถึง สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวงหรือสภาวะที่ปราศจากตัณหา อุปาทาน เจริญพร 24/10/60 หลวงพ่อมิตร

 

ปาฏิหาริย์ หมายถึง การกระทำที่ให้เห็นเป็นอัศจรรย์ หรือการกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ หรือทำให้ผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ยอมได้ เช่น อิทธิปาฏิหาริย์คือฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ หายตัว ดำดิน ฯลฯ หรือ อาเทศนาปาฏิหาริย์คือการทายใจ หรือรอบรู้กระบวนของจิตจนสามารถกำหนดอาการที่หมายเล็กน้อยแล้วบอกสภาพจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้องเป็นอัศจรรย์สุดได้แก่ อนุสาสนีปาฏิหาริย์คือคำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริงเป็นอัศจรรย์ ในสามอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ แต่ทรงสรรเสริญอนุสาานีปาฏิหาริย์ว่าเป็นเยี่ยม สองอย่างข้อแรกนั้น ยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับมหาชนแต่สามารถทำให้เกิดความหลงและ ถูกหลอกได้ง่าย ๆ ต้องระมัดระวังมีทั้งจริงและเท็จ เจริญพร 25/10/60 หลวงพ่อมิตร

 

ญาณ หมายถึงความหยั่งรู้หรือปรีชาหยั่งรู้ มีดังนี้ ข้อแรก สัจจญาณ หยั่งรู้สัจจะคือความหยั่งรู้อริยสัจจ์ทั้ง 4 แต่ละอย่างตามที่เป็น เป็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัยเหตุของทุกข์ได้แก่ กิเลสตัณหาและความหลง นี้ทุกขนิโรธนี้คือความดับทุกข์ความสิ้นไปแห่งตัณหาอุปทานและอวิชชา นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้คืหนทางดับแห่งความทุกข์ ศีลสมาธิปัญญานี้เอง สอง กิจจญาณ หยั่งรู้กิจคือความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจจ์ 4 แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้งชัดในใจ มรรคควรทำให้เกิดมีเกิดเป็นขึ้น สามกตญาณ หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริสัจต์ 4และละอย่างนั้นได้ทำเสร็จแล้ว พวกเราเคยสวดมนต์กันว่า มีปริวัฏฏ์ สามคือวนสามรอบนี้เป็นไปในอริยสัจจ์4 รวมเป็นสิบสอง ญาณทัสสนะนั้น จึงได้ชื่อว่ามีอาการสิบสอง อย่างนี้จึงปฏิญาณพระองค์ได้ว่าทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว หรือพระอรหันต์ ในโลก เทวโลก ทางโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เจริญพร 30/10/60 หลวงพ่อมิตร

view